วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

30 ข้อการใช้ชีวิต

1. อย่าทำลายความหวังของใคร เพราะเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้น
2. เมื่อมีคนเล่าว่า เขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตาม เราไม่ต้องไปคุยทับ ปล่อยเขาฟุ้งไปตาม สบาย
3. รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆเหมือนกัน
4. หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่ตามริมทางเสียบ้าง
5. จะคิดการใด จงคิดการให้ใหญ่ๆ เข้าไว้ แต่เติมความสุข สนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
6. หัดทำสิ่งดีๆ ให้คนอื่นจนเป็นนิสัย โดยไม่จำเป็นต้องให้เขารู้
7. จำไว้ว่าข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
8. เวลาเล่นเกมกับเด็กๆ ก็ปล่อยให้แกชนะไปเถอะ
9. ใครจะวิจารณ์เรายังไงก็ช่าง ไม่ต้องไปเสียเวลาตอบโต้
10. ให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ "สอง" แต่อย่าให้ถึง "สาม"
11. อย่าวิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานกับเขาแล้วไม่มีความสุข ก็ลาออกซะ
12. ทำตัวให้สบาย อย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้ว อะไรๆ มันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้ทีแ รกหรอก
13. ใช้เวลาน้อยๆในการคิดว่า "ใคร" เป็นคนถูก แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า "อะไร" คือสิ่งที่ถูก 14. เราไม่ได้ต่อสู้กับ "คนโหดร้าย" แต่เราต่อสู้กับ "ความโหดร้าย" ในตัวคน
15. คิดให้รอบคอบก่อนจะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
16. เมื่อมีใครสวมกอดคุณ ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
17. ยอมที่จะแพ้ในสงครามย่อยๆ เมื่อการแพ้นั้นจะทำให้เราชนะสงครามใหญ่
18. เป็นคนถ่อมตน ...คนเขาทำอะไรต่ออะไรสำเร็จกันมามากมายแล้วตั้งแต่เรายังไม่เกิด
19. ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายเพียงใด ...สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
20. อย่าไปหวังเลยว่าชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
21. อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาเบื่อหน่าย ถ้ามีใครมาถามเราว่า "เป็นอย่างไรบ้างตอนนี้" ก็ ตอบเขาไปเลยว่า "สบายมาก"
22. อย่าพูดว่ามีเวลาไม่พอ เพราะเวลาที่คุณมีมันก็วันละ 24 ชั่วโมง เท่าๆ กับ หลุยส์ ปาสเตอร์, ไมเคิลแอนเจลโล, แม่ชีเทเรซา, ลีโอนาร์โด ดา วินซี, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน หรือ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ที่เขามีนั่นเอง
23. เป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวกลับไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
24. ประเมินตนเองด้วยมาตราฐานของตัวเอง ไม่ใช่ด้วยมาตราฐานของคนอื่น
25. จริงจังและเคี่ยวเข็ญตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
26. อย่าระดมสมอง เพราะไอเดียดีๆ ใหม่ๆ และยิ่งใหญ่จนสามารถเปลียนแปลงโลกได้ ล้วนมาจาก บุคคลที่คิดค้นอยู่แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น
27. คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผย อ่อนโยน และอยากรู้อยากเห็น (มิใช่สอดรู้สอดเห็น)
28. ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานนั้นจะกระจอกงอกง่อยสักปานใด
29. คำนึงถึงการมีชีวิตให้ "กว้างขวาง" มากกว่าการมีชีวิตให้ "ยืนยาว"
30. มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ

อ่านต่อ

ปัญหา

ปัจจุบันมีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นว่า เด็กไทยจำนวนมากขาดทักษะการแก้ปัญหาชีวิต อาทิ เด็กวัยรุ่นผิดหวังในความรักหรือเรื่องเรียนหาทางออกโดยการฆ่าตัวตาย โครงการ Child Watch โดยสถาบันรามจิตติ ได้สรุปสภาวการณ์เด็กไทยด้านต่าง ๆ ไว้ในช่วงปี 2548-2549 ด้านภาวะสุขภาพจิตของเด็กไทย พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี พยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 30 เป็น 40 คนต่อแสนคน หรือคิดเป็นจำนวนเยาวชนที่พยายามฆ่าตัวตายปีละ 7,800 คน หรือเฉลี่ยวันละ 21 คน และที่ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 800 หรือเฉลี่ยวันละ 2 คน ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้อธิบายสาเหตุการฆ่าตัวตายว่า เกิดจากอาการซึมเศร้าซึ่งมาจากความวิตกกังวล และไม่สามารถจัดการกับปัญหาตนเองได้
การวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่า ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กจะพัฒนาขึ้นตามอายุ โดยเด็กอายุ 3 ขวบ เริ่มมีพัฒนาการด้านนี้แล้ว ขึ้นกับว่าระหว่างที่เด็กเจริญเติบโตนั้น มีปัจจัยใดบ้างที่เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอาทิ เด็กมีความจำกัดในเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจ ขาดความอดทนในการเอาชนะปัญหา และขาดความเข้าใจปัญหา ขณะที่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาไม่ได้มีความเข้าใจ และมีวิธีการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาให้แก่เด็กอย่างถูกต้อง
ผมขอนำเสนอตัวอย่างหลักสูตรที่สอนทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการสอนอย่างจริงจัง ในขณะที่ต่างประเทศมีหลักสูตรดังกล่าวแล้ว
ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving Program: CPS) พัฒนาโดย Donald J. Treffinger, Scott G. Isaksen, & K. Brian Dorval ซึ่งเป็นกระบวนการในการคิดแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการมีความเข้าใจในตัวปัญหา การคิดสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกของปัญหาในมุมของความเป็นไปได้ และการวางแผนในภาคปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โปรแกรม ICPS (I Can Problem Solve) พัฒนาโดย Myma B. Shure, Ph.D. จาก Mental Health Services, DuPage County Health Department Wheaton, Illinois เป็นบทเรียนที่ใช้ปูพื้นฐาน และฝึกฝนทักษะในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบให้กับผู้เรียน ซึ่งตัวอย่างหลักสูตรและโปรแกรมดังกล่าว มีลักษณะร่วมดังนี้
ฝึกการมองปัญหาอย่างถูกต้องโดยสอนผู้เรียนให้มองปัญหาอย่างสมจริง ไม่ใช่ตื่นตระหนกจนเกินไป ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ขณะเดียวกัน ก็ไม่เพิกเฉยต่อปัญหา แต่ลงมือแก้ไขปัญหาจนสำเร็จ สอนให้ผู้เรียนเข้าใจว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญ และปัญหาสามารถช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และสร้างผู้เรียนให้เป็นคนที่อดทนสามารถเอาชนะปัญหาได้
ฝึกทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ เกิดจากการฝึกทักษะการคิดเป็นพื้นฐาน อาทิ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับการปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และคิดหาวิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนได้รู้ว่าในหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้มากกว่าหนึ่งทาง ทักษะการคิดเชิงตรรกะ การเชื่อมโยงเหตุและผล เพื่อนำมาเปรียบเทียบ หาผลกระทบ หาทางเลือกที่ดีที่สุดและเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ โดยก่อให้เกิดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดขึ้นเลย
วิธีการใช้ชุดคำถามที่สามารถใช้ผ่านชีวิตประจำวัน อาทิ ชุดคำถามจำพวก “มีอะไรอีกไหม” “มีทางอื่นอีกไหม” เพื่อฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ขยายกรอบความคิดให้กว้างไกลกว่าเดิม ชุดคำถามจำพวก “ก่อน...หลัง” “ถ้า...แล้ว” “ขณะนี้...หลังจากนี้” “เหมือน...ต่าง” “ทำไม...เพราะ” เพื่อฝึกฝนการใช้เหตุและผล การกลั่นกรองเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และสามารถใช้การเล่นบทบาทสมมติ เล่านิทาน หรือภาพยนตร์ ละคร และข่าว เป็นกรณีศึกษาในการแก้ปัญหา โดยใช้คำถามง่าย ๆ เช่น หากเราเป็นบุคคลนั้น เราจะตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร? ถ้าเจอปัญหาแบบคนที่อยู่ในข่าวจะหาทางออกให้กับตัวเองอย่างไร? เป็นต้น
ฝึกการเข้าใจผู้อื่น องค์ประกอบส่วนใหญ่ของปัญหา มักมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง การฝึกการคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น เป็นการฝึกการคิดอย่างรอบคอบว่า เราควรใช้การแก้ปัญหาแบบใดที่ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง นอกจากนี้ เป็นการรู้ทันอารมณ์ความรู้สึก และนิสัยของตนว่า เป็นจุดอ่อนที่สร้างความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ง่ายหรือไม่ เช่น เป็นคนใจร้อน โกรธง่าย จุกจิก ฯลฯ อาจใช้ชุดคำศัพท์หรือชุดคำถามจำพวก “ยุติธรรมหรือไม่” “หากเราทำเช่นนี้แล้ว...เขาจะรู้สึกอย่างไร” “หากเขาทำเช่นนั้นกับเรา...เราจะรู้สึกอย่างไร” เป็นต้นเพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดถึงความรู้สึกผู้อื่น
ที่สำคัญ ระหว่างฝึกทักษะภาคปฏิบัติ ครูจะไม่ตัดสินความคิดเห็นผู้เรียนว่าดีหรือไม่ดี แต่พยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดให้ลึกที่สุด โดยให้ความสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงเหตุและผล หากครูรีบตัดสินความคิดของผู้เรียนมาเกินไป ผู้เรียนจะสร้างกลไกการป้องกันตนเอง และไม่กล้าแสดงความคิด
ทักษะการแก้ปัญหา เป็นทักษะที่จำเป็นต้องสร้างในเด็กไทย เพื่อให้เด็กไทยมีความสามารถในการเผชิญปัญหา มิใช่เพิกเฉยต่อปัญหา หนีปัญหา หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่เหมาะสม จนเกิดผลเสียต่อตนเองหรือส่วนรวมได้ ซึ่งจะส่งผลดีในอนาคตคือ ประเทศจะมีคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาให้กับประเทศ

อ่านต่อ

ปัญหาวัยรุ่น

ปัญหาวัยรุ่น เวลาที่รับรู้ปัญหาของวัยรุ่น หลายคนมีความหงุดหงิด ไม่พอใจ เบื่อ รู้สึกว่าทำไมไม่เลือกสิ่งที่ดีให้กับตนเอง
ทำไมต้องสร้างปัญหา คนจำนวนหนึ่งอยากจัดการปัญหาด้วยความรุนแรง ในความเป็นจริงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นมีเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน
ถ้าจัดการเฉพาะที่ตัววัยรุ่น คงแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วนทำไมเด็กบางคนเกิดปัญหาพฤติกรรม ทำไมเด็กบางคนมีความเสี่ยงเรื่องความรุนแรงและเรื่องเพศ ทำไมเด็กบางคนไม่มีปัญหาทั้งที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงแพทย์หญิงพรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล อธิบายถึงปัญหานี้ว่า
การเกิดปัญหาของวัยรุ่นมีปัจจัยเสี่ยงทั้งในตัวเด็กและในสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันมีปัจจัยปกป้องที่ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม แม้จะแวดล้อมด้วยสภาพที่เสี่ยงก็ตามในทางจิตวิทยา ถ้าจะแก้ไขปัญหาเด็ก ต้องลดปัจจัยเสี่ยงในตัวเด็กและสิ่งแวดล้อมลง
และสร้างปัจจัยปกป้องเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้ปัญหาวัยรุ่นเริ่มจากความเสี่ยงแรกคือความเสี่ยงในตัวเด็ก ซึ่งมีผลมาจากครอบครัว การไม่ได้รับการยอมรับจากคนในครอบครัว ถูกมองว่าเป็นแกะดำ ใช้ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่อง จะทำให้เด็กมีความคิดต่อต้านสังคม ไ
ม่ยอมรับกติกาการอยู่ร่วมกันจากสภาวะดังกล่าวจะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มองพฤติกรรมเหล่านั้นในลักษณะโก้ เป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ให้ความพอใจอย่างทันทีทันใด โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมานอกจากนี้การที่เริ่มมีปัญหาตั้งแต่อายุยัง
ในเด็กที่อยู่ในสภาพปัญหาตั้งแต่กระบวนการคิดพิจารณาด้วยตัวเด็กเองยังไม่สามารถคิด ตัดสินใจได้ ทำให้ถูกหล่อหลอมความคิดความเชื่อที่ไม่เหมาะสมปัญหาวัยรุ่นความเสี่ยงต่อมาได้แก่ ความเสี่ยงจากครอบครัว ครอบครัวบางครอบครัวยอมตามลูก
ไม่รู้วิธีที่จะจูงใจเด็กให้ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ บางครอบครัวทิ้งลูกไม่เคยรู้ว่าลูกมีปัญหาอย่างไร บางครอบครัวใช้วิธีบังคับรุนแรงแต่ไม่เคยแก้ปัญหาเด็กได้จริง ครอบครัวมีความขัดแย้ง มีปัญหาในครอบครัว เด็กไม่อยากกลับบ้าน ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ในที่สุดมีกลุ่มของตนเองซึ่งเด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มมากกว่าของครอบครัว
บางครอบครัวส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มีทัศนคติยอมรับพฤติกรรมของเด็ก และมองปัญหาว่ามาจากคนอื่น เช่น โทษว่าเพื่อนลูกเป็นต้นเหตุ ปกป้องเด็กในทางที่ผิด ไม่ฝึกเด็กให้รับผิดชอบการกระทำของตนเอง
พ่อแม่แก้ไขปัญหาพฤติกรรมลูกด้วยวิธีที่ผิดนอกจากนี้การที่มีพ่อแม่มีปัญหาพฤติกรรมไม่น้อยไปกว่าลูก เรียกว่าเป็นพ่อปูกับลูกปูเดินตามกันมา จะทำให้เด็กซึมซับความเห็นแก่ตัว ไม่สนใจเรื่องศีลธรรมมาจากตัวพ่อแม่ความเสี่ยงในชุมชนและสังคมเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ
การเข้าถึงอบายมุข เหล้า ยา อาวุธ เรียกว่าแวดล้อมด้วยสิ่งจูงใจให้มีความเสี่ยง ทัศนคติของชุมชนเองยอมรับอบายมุข ยอมให้มีสิ่งมอมเมา ผู้ใหญ่ทำผิดให้เด็กเห็น ค่านิยมของสังคมที่ยอมรับพฤติกรรมเสี่ยง ผู้ใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงเหมือนเด็ก
ผู้ใหญ่บางคนเป็นต้นแบบทางสังคมแต่มีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม ขาดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความเสี่ยง ขาดนโยบายที่ชัดเจนต่อเนื่อง ปัญหาไม่สามารถแก้ได้ในพริบตา ต้องวางแนวคิดการพัฒนาที่หวังผลในระยะเป็นสิบปี
ซึ่งต้องการการตัดสินใจทางนโยบายที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เด็กปัญหาวัยรุ่นสำหรับหนทางในการแก้ปัญหา ต้องหาทางป้องกันหรือลดความเสี่ยงลง และสร้างภูมิต้านทานให้กับลูก ดังนี้* สร้างเป้าหมายในชีวิต ในวัยรุ่นการมีเป้าหมายในชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ การค้นพบสิ่งที่ตนเองต้องการ และมีความหวังในอนาคต ทำให้เด็กเชื่อมั่น และต้องการเดินทางไปให้ถึง ความมุ่งมั่นในเป้าหมายจะทำให้เด็กตั้งใจ ยึดมั่นในความสำเร็จมากกว่าใช้เวลากับสิ่งที่ยั่วยุ
ปัญหาใหญ่ของวัยรุ่นไทยส่วนหนึ่งไม่เคยสนใจอนาคตตัวเอง เพราะมีคนคิดแทน จัดการกำหนดให้ว่าควรจะทำอย่างไร
โดยตัวเด็กไม่เคยรู้สึกว่าเป็นความต้องการของตนเอง ในขณะที่เด็กอีกกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม แม้จะตั้งความหวัง แต่ชีวิตไม่เคยมีโอกาสจะไปถึง เด็กกลุ่มนี้ทิ้งอนาคตตัวเอง เอาชีวิตรอดไปวันๆ* สร้างบุคลิกภาพที่มั่นคง เป็นผลมาจากการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เด็กมีความเชื่อมั่นในคนรอบข้างโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อและแม่ เชื่อมั่นว่าพ่อแม่สามารถให้คำแนะนำอย่างเข้าใจ พูดคุยปัญหากับพ่อแม่ได้ มั่นใจในตนเอง
มีความภาคภูมิใจ จะสัมพันธ์กับความมั่นใจว่าตนเองสามารถมีชีวิตที่ดีแม้จะแวดล้อมด้วยสิ่งที่เป็นอบายมุข เด็กกลุ่มนี้จะมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ทำให้มีกลุ่มเพื่อน คนที่เด็กสามารถไว้วางใจได้* มีความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง
อบรมสั่งสอนตั้งแต่วัยเด็ก สามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องได้ และมีความเชื่อมั่น แม้จะเห็นคนอื่นทำสิ่งที่ผิด แต่ยังยืนหยัดที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่เด็กแสวงหาความหมายของชีวิต การมีประสบการณ์ที่สอนเรื่องชีวิตทำให้เด็กเข้าใจสถานการณ์ในชีวิตดีขึ้น พื้นที่ดีๆ
ที่สอนการเรียนรู้สำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นปัญหาวัยรุ่นในส่วนของครอบครัวย่อมมีความสำคัญในการแก้ปัญหา เริ่มจากสัมพันธภาพในครอบครัว จะเป็นตัวบ่งบอกอุณหภูมิในบ้านว่าสมาชิกอยากกลับมาที่บ้านและเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
สายสัมพันธ์ที่มีต่อกันทำให้เด็กคำนึงว่าสิ่งที่ตนกระทำจะเกิดผลอย่างไรกับครอบครัว และด้วยความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทำให้อบรมสั่งสอนลูกด้วยความรักได้ สัมพันธภาพที่ดีเกิดจากความสามารถในการสื่อสารความรักต่อกัน เ
มื่อเด็กเริ่มโตเริ่มมีความต้องการเป็นของตนเองมักเกิดความขัดแย้งกับผู้ใหญ่ การสื่อสารด้วยเหตุผลเป็นการอธิบายความต้องการของพ่อแม่และรับฟังความต้องการของลูก ดังนั้นการฝึกทักษะสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกโตเป็นวัยรุ่นเป็นเรื่องจำเป็น
จะพูดอธิบายความต้องการของตนเองอย่างไร จะแสดงความรักกับลูกอย่างไร ทำอย่างไรลูกจะเข้าใจความคาดหวังของพ่อแม่ในทางที่ดี ไม่ใช่การกดดัน ครอบครัวพร้อมสนับสนุนเด็กวัยรุ่นมีปัญหาได้ง่าย มีความอยากลองอยากเรียนรู้ บางครั้งมีความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ต้องการการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างเข้าใจให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ พ่อแม่ต้องมีทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีทางบวก อธิบาย อบรม ชี้แนะ
ให้กำลังใจมากกว่าการใช้อารมณ์ ประชด ด่าว่า ไล่ออกจากบ้านหากเริ่มต้นแก้ปัญหาเล็กๆ ไม่ได้ เด็กจะขยับเข้าไปหากลุ่มที่นำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นปัญหาวัยรุ่นด้านสังคมและชุมชน ต้องร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับเด็ก
เข้าถึงเหล้าบุหรี่ยาเสพติดได้ยาก รวมทั้งอบายมุขทุกชนิด ชุมชนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็ก จัดพื้นที่ทางสังคมให้กับเด็กเพิ่มมากขึ้นในขณะที่พยายามลดพื้นที่ที่ทำให้เด็กเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาลง
และการวางนโยบายระยะยาวว่าจะลงทุนอย่างไรในการสร้างปัจจัยปกป้องทุกด้านให้กับเด็ก ปัญหาวัยรุ่นที่พ่อแม่กำลังเผชิญอยู่ เป็นช่วงเวลาหนึ่งของพัฒนาการของลูก อยากเห็นลูกเป็นอย่างไรในอนาคต ต้องใช้เวลาที่ดีต่อกันในการดูแลลูกในวันนี้

อ่านต่อ

ปัญหาสิ่งแวดล้อม 10วิธีแก้ไขปัญหาโลกร้อน
โลกของเราตอนนี้กำลังประสบปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างมากเลย อย่างที่ เราได้อ่านบทความเกี่ยวกับผลกระทบของโลกร้อน ตามที่ต่างๆซึ่งถ้าใครได้อ่านจะพบว่า มีผลกระทบอย่างมากเลย โดยเฉพาะกับหมีน้อยขั้วโลก ที่ต้องทนอยู่อย่างทุกข์ทรมาน เพราะ น้ำแข็งเริ่มละลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรง เราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธีต่อไปนี้

1. เปลี่ยนหลอดไฟ
การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี

2. ขับรถให้น้อยลง
หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนตร์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์

3. รีไซเคิลของใช้
ลดขยะของบ้านให้ได้ครึ่งหนึ่งจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี

4. เช็คลมยาง
การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ
น้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์
5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง
ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์

6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ
เพียงแค่ลดขยะของเราเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี

7. ปรับอุณหภูมิห้องของเรา(สำหรับเมืองนอก)
ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี อันนี้ ข้อนี้คนไทยอย่างเราคงจะไม่ได้ใช้ เพราะว่า เราไม่ได้หนาวขนาดต้องใช้ heater หรือเครื่องทำความร้อนจริงไหม แล้วปกติอากาศบ้านเราก็ร้อนอยู่แล้ว ฮ่าๆ แต่ยังไง ก็สามารถนำไปประยุกต์หรือบอกต่อเพื่อนๆเราที่ไปอยู่เมืองนอกได้น๊า

8. ปลูกต้นไม้
การ ปลูกต้นไม้ หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้
ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี

และอย่างสุดท้าย

อ่านต่อ

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552



ถ้าเราไม่มีความอ่อนแอ - คงไม่มีวันรู้ ว่า เราอ่อนไหว และ เจ็บปวดได้ง่ายขนาดไหน
และถ้าเราไม่เจ็บปวด - คงไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ควรจะถอย และ เมือ่ไหร่ควรจะหยุด

นั่นเพราะสิ่งสุดท้ายที่เราจะมีไว้เพื่อป้องกัน และ รักษาตัวเองจากความเจ็บปวดทั้งหลาย
ก็คือความรักตัวเอง...

หมาจนตรอกที่สามารถสู้จนตัวตายได้
นั่นคงไม่ใช่หมาที่เข้มแข็งเหมือนที่ใครๆ คิด หากเพราะมันอ่อนแอต่างหาก
อ่อนแอจนหนีไปไหนไม่ได้อีกแล้ว

จึงเปลี่ยนความอ่อนแอนั้นเป็นพลัง และ เมื่อเราอ่อนแอถึงที่สุดแล้ว
ย่อมไม่มีอะไรน่ากลัวอีกต่อไป

แม้แต่ชีวิต...

ความอ่อนแอ ทำให้เรารู้จักที่จะพัก เมื่อเหนื่อย
และไม่ฝืนเดินต่อ เมื่อไปต่อไม่ไหว

แต่บางครั้ง ความอ่อนแอ กับ ขี้ขลาด มันก็อยู่ไกล้กันแค่เอื้อม
และเฉือนกันเพียงแค่ปลายลิ้น

ขี้ขลาดคือไม่เคยลองพยายามสู้กับสิ่งใด
กลัวในทุกสิ่งที่ยังไม่เห็น และ ไม่เกิด

มันจึงไม่มีทางเทียบเคียงได้เลยกับความอ่อนแอ
ของคนที่ได้พยายามมามากพอแล้ว

นั่นเพราะถ้าไม่พยายามมากพอ
คงไม่มีวันรู้สึก เหนื่อย

และคงไม่มีวันรู้
ว่าเรามีมุมอ่อนแอกับเค้าอยู่เหมือนกัน

ใช้มันให้เป็น
เปลี่ยนความอ่อนแอ ให้เป็นพลังขับ

ยิ่งถ้าเรารู้
ว่าเราอ่อนแอได้ถึงขนาดไหน
เจ็บปวดได้มากเพียงใด

เราคงเรียนรู้ที่จะ ไม่ทำให้ตัวเองเจ็บ
ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกเป็นแน่

จริงอยู่

คนอ่อนแอ..คงไม่สามารถเอาชนะใครที่เข้มแข็งกว่า
ด้วยกำลังได้

แต่ด้วยหัวใจ ถ้าเราสามารถ ชนะ ความเจ็บปวด ทั้งหลาย
และขอเพียงไม่วิ่งหนี ไม่ยอมแพ้

แม้จะอ่อนแอ อีกสักเท่าไหร่
ก็เป็นแค่ความอ่อนแอ

ที่ห่างไกลกับการยอมแพ้โดยสิ้นเชิง

****************************************

อ่านต่อ